นิทรรศการ “สมเด็จฯพระบรมราชชนกกับการสาธารณสุขไทย: สุขภาพกับสิ่งแวดล้อม”
เมื่อวันจันทร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2562 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานเปิดนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก “สมเด็จฯพระบรมราชชนกกับการสาธารณสุขไทย: สุขภาพกับสิ่งแวดล้อม” ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 10-15 กันยายน พ.ศ. 2562 ณ Lifestyle Hall ชั้น 2 ศูนย์การค้าสยามพารากอนในกิจกรรมครั้งนี้ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภญ.นฤมล โพธิ์ศรีทอง ร่วมออกหน่วยตรวจหาสารปนเปื้อนในอาหาร โดยมีการตรวจหา สาร antibiotics ในน้ำนมและเนื้อสัตว์ การตรวจยาฆ่าแมลงในผักผลไม้ และใน เลือดของคน การตรวจ formaline ในผลไม้ และ เชื้อ E.coli ในน้ำ กิจกรรมนี้เป็นการทำงานร่วมกันระหว่าง 3 มหาลัยคือ มหาวิทยาลัยสยาม มหาวิทยาลัยนเรศวร และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Freshy Day 2019
ผ่านไปแล้วกับงาน Freshy Day 2019 เมื่อวันเสาร์ที่ 7 กันยายน 2562 คณะเภสัชศาสตร์ขอแสดงความยินดีกับ ดาว-เดือนคณะเภสัชศาสตร์ที่ ที่ได้รับรางวัลนายธธัช กรรณสูตร ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 เดือนมหาวิทยาลัยสยามนางสาวมณทิพญ์ บัวจีบ ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ดาวมหาวิทยาลัยสยามและรางวัลชนะเลิศตกแต่งสแตนเชียร์รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 สแตนเชียร์รางวัลชมเชย เชียร์ลีดเดอร์ ขอบคุณนักศึกษาทุกคนที่ร่วมแรงร่วมใจร่วมกิจกรรมครั้งนี้ ประมวลภาพกิจกรรม (คลิก)
การประเมินคุณภาพภายในระดับคณะวิชา
เมื่อวันจันทร์ที่ 26 สิงหาคม 2562 คณะเภสัชศาสตร์ รับการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับคณะวิชา ประจำปีการศึกษา 2561 โดยมีกรรมการประเมิน(1) รศ.ดร.อรลักษณา แพรัตกุล (ประธานภายนอก)(2) ผศ.ดร.สุสารี ประคินกิจ (กรรมการ)(3) ผศ.จิรนาถ บุญคง (กรรมการและเลขานุการ)พร้อมทั้งผู้ใช้บัณฑิต ภญ.ประภาพรรณ เตชธนัง จากโรงพยาบาลวิชัยเวชอินเตอร์เนชั่นแนล หนองแขม และ ภญ.มลิวรรณ อุดมคำ ศิษย์เก่าจากโรงพยาบาลพญาไท 3การประเมินเป็นไปด้วยความเรียบร้อย /คณะเภสัชศาสตร์ขอขอบคุณกรรมการทุกท่าน
รางวัลนักวิจัยดีเด่น ประจำปีการศึกษา 2561
คณะเภสัชศาสตร์ ขอแสดงความยินดีกับ ผศ.ดร.ภก.วีรชัย ไชยจามร และ ดร.ภก.อภิโชติ โซ่เงิน ที่ได้รับรางวัลนักวิจัยดีเด่นในโครงการประกวดนักวิจัยดีเด่น ประจำปีการศึกษา 2561 โดยได้รับเกียรติจากท่านนายกสภามหาวิทยาลัย พลอากาศเอกชลิต พุกผาสุข เป็นผู้มอบรางวัล
สรุปข้อมูลงานวิจัย ประจำปีการศึกษา 2561
ปีการศึกษา 2561 คณะเภสัชศาสตร์ ได้รับเงินสนับสนุนงานวิจัย และงานสร้างสรรค์รวม 100,400 บาทอัตราส่วนเงินสับสนุนงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ต่อจำนวนอาจารย์ที่ปฏิบัติงานจริงและนักวิจัยประจำ 38 คน คิดเป็นคนละ 2,642.11 บาท
ครบรอบ 41 ปี ดร.ณรงค์ มงคลวนิช ผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยสยามและสถาบันในระบบ
คณบดี คณาจารย์ เจ้าหน้าที่พร้อมด้วยนักศึกษา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม ร่วมงาน ครบรอบ 41 ปี ดร.ณรงค์ มงคลวนิช ผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยสยามและสถาบันในระบบ ในวันพฤหัสบดีที่ 15 สิงหาคม 2562
การสัมมนาการจัดการความรู้ด้านงานวิจัย ปีการศึกษา 2561
ดาวน์โหลด (คลิก) คู่มือมาตรฐานการเผยแพร่ผลงานวิจัยและผลงานทางวิชาการ คำถามและแนวทางการปฏิบัติตามแนวทางคู่มือมาตรฐานการเผยแพร่ผลงานวิจัยและผลงานทางวิชาการโดยสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ 1. การเผยแพร่ซ้ำ (Redundant Publication) สามารถทำได้หรือไม่ อ้างอิงตามแนวทางคู่มือมาตรฐานการเผยแพร่ผลงานวิจัยและผลงานทางวิชาการ โดยสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ หน้า 23 หัวข้อ 8.2 ข้อ 1-7 เมื่อจำเป็นต้องเผยแพร่ซ้ำ ให้แจ้งเจ้าของทรัพยากรครั้งแรก และครั้งที่สองทราบทั้งคู่ และในการเผยแพร่งานครั้งที่สองนั้น ให้อ้างอิงถึงการเผยแพร่ครั้งแรกด้วย หากใช้สื่อเช่นเดียวกันกับครั้งแรก ให้พยายามสื่อด้วยการทวนความ (paraphrase) เท่าที่จะสามารถทำได้2. แนวทางปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับการลอกเลียนโดยมิชอบ (Plagiarism) คืออย่างไร อ้างอิงตามแนวทางคู่มือมาตรฐานการเผยแพร่ผลงานวิจัยและผลงานทางวิชาการ โดยสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ หน้า 13 หัวข้อ 4.1-4.3 ทั้งในเรื่องของการนิยาม และแนวทางปฏิบัติ ซึ่่งแนวทางปฏิบัติคือ องค์ความรู้/ข้อมูลที่อ้างอิง จำเป็นต้องถูกอ้างอิง และมีที่มาโดยครบถ้วน และให้พยายามสื่อด้วยการทวนความ (paraphrase) หรือย่อความ (summarize) ด้วยวิธีการใช้ภาษาของผู้นิพนธ์เอง และพึงเลี่ยงการอ่านจากเอกสารอ้างอิงนั้นพร้อมกับเขียนไปด้วย ซึ่่งจะทำให้โอกาสการบังเอิญเขียนตรงกันเป็นไปได้ยาก3. การอ้างอิง (citation) และเอกสารอ้างอิง (reference)ควรทำอย่างไร […]
การสัมมนาการจัดการความรู้ด้านงานวิจัย ปีการศึกษา 2561
ดาวน์โหลด (คลิก) คู่มือมาตรฐานการเผยแพร่ผลงานวิจัยและผลงานทางวิชาการ คำถามและแนวทางการปฏิบัติตามแนวทางคู่มือมาตรฐานการเผยแพร่ผลงานวิจัยและผลงานทางวิชาการโดยสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ 1. การเผยแพร่ซ้ำ (Redundant Publication) สามารถทำได้หรือไม่ อ้างอิงตามแนวทางคู่มือมาตรฐานการเผยแพร่ผลงานวิจัยและผลงานทางวิชาการ โดยสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ หน้า 23 หัวข้อ 8.2 ข้อ 1-7 เมื่อจำเป็นต้องเผยแพร่ซ้ำ ให้แจ้งเจ้าของทรัพยากรครั้งแรก และครั้งที่สองทราบทั้งคู่ และในการเผยแพร่งานครั้งที่สองนั้น ให้อ้างอิงถึงการเผยแพร่ครั้งแรกด้วย หากใช้สื่อเช่นเดียวกันกับครั้งแรก ให้พยายามสื่อด้วยการทวนความ (paraphrase) เท่าที่จะสามารถทำได้2. แนวทางปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับการลอกเลียนโดยมิชอบ (Plagiarism) คืออย่างไร อ้างอิงตามแนวทางคู่มือมาตรฐานการเผยแพร่ผลงานวิจัยและผลงานทางวิชาการ โดยสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ หน้า 13 หัวข้อ 4.1-4.3 ทั้งในเรื่องของการนิยาม และแนวทางปฏิบัติ ซึ่่งแนวทางปฏิบัติคือ องค์ความรู้/ข้อมูลที่อ้างอิง จำเป็นต้องถูกอ้างอิง และมีที่มาโดยครบถ้วน และให้พยายามสื่อด้วยการทวนความ (paraphrase) หรือย่อความ (summarize) ด้วยวิธีการใช้ภาษาของผู้นิพนธ์เอง และพึงเลี่ยงการอ่านจากเอกสารอ้างอิงนั้นพร้อมกับเขียนไปด้วย ซึ่่งจะทำให้โอกาสการบังเอิญเขียนตรงกันเป็นไปได้ยาก3. การอ้างอิง (citation) และเอกสารอ้างอิง (reference)ควรทำอย่างไร […]
งานประชุมวิชาการ เรื่อง Pharmacotherapy Review for Pharmacy Practice
ทางคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม จัดงานประชุมวิชาการเรื่อง “Pharmacotherapy Review for Pharmacy Practice” ภายใต้โครงการความร่วมมือทางวิชาการระหว่างคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม และหน่วยงาน เภสัชกรรม โรงพยาบาลตราด ระหว่างวันที่ 24-25 กรกฎาคม 2562 ห้องประชุมสักทอง ตึกศัลยกรรมหญิง โรงพยาบาลตราด โดยมีคณาจารย์ร่วมป็นวิทยากร ได้แก่ ดร.ภก.ถนอมพงษ์ เสถียรลัคนา ดร.ภก.ทักษิณ จันทร์สิงห์ ดร.ภก.อภิโชติ โซ่เงิน ดร.ภญ.อุษาศิริ ศรีสกุล เเละ อาจารย์ วิภาวี รอดจันทร์
งานประชุมวิชาการ เรื่อง Pharmacotherapy in Chronic Kidney Disease and Palliative Care
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม ร่วมกับกลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลพัทลุง จัดงานประชุมวิชาการ เรื่อง “Pharmacotherapy in Chronic Kidney Disease and Palliative Care” เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2562 ณ ห้องประชุมโนรา โรงพยาบาลพัทลุง โดยมี ผศ.ดร.วีรชัย ไชยจามร ดร.ถนอมพงษ์ เสถียรลัคนา และ ดร.ทักษิณ จันทร์สิงห์ ร่วมเป็นวิทยากรบรรยาย