การสัมมนาการจัดการความรู้ด้านงานวิจัย ปีการศึกษา 2561

ดาวน์โหลด (คลิก) คู่มือมาตรฐานการเผยแพร่ผลงานวิจัยและผลงานทางวิชาการ 

คำถามและแนวทางการปฏิบัติตามแนวทาง
คู่มือมาตรฐานการเผยแพร่ผลงานวิจัยและผลงานทางวิชาการ
โดยสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ

1. การเผยแพร่ซ้ำ (Redundant Publication) สามารถทำได้หรือไม่
     อ้างอิงตามแนวทางคู่มือมาตรฐานการเผยแพร่ผลงานวิจัยและผลงานทางวิชาการ โดยสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ หน้า 23 หัวข้อ 8.2 ข้อ 1-7 เมื่อจำเป็นต้องเผยแพร่ซ้ำ ให้แจ้งเจ้าของทรัพยากรครั้งแรก และครั้งที่สองทราบทั้งคู่ และในการเผยแพร่งานครั้งที่สองนั้น ให้อ้างอิงถึงการเผยแพร่ครั้งแรกด้วย หากใช้สื่อเช่นเดียวกันกับครั้งแรก ให้พยายามสื่อด้วยการทวนความ (paraphrase) เท่าที่จะสามารถทำได้
2. แนวทางปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับการลอกเลียนโดยมิชอบ (Plagiarism) คืออย่างไร
     อ้างอิงตามแนวทางคู่มือมาตรฐานการเผยแพร่ผลงานวิจัยและผลงานทางวิชาการ โดยสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ หน้า 13 หัวข้อ 4.1-4.3 ทั้งในเรื่องของการนิยาม และแนวทางปฏิบัติ ซึ่่งแนวทางปฏิบัติคือ องค์ความรู้/ข้อมูลที่อ้างอิง จำเป็นต้องถูกอ้างอิง และมีที่มาโดยครบถ้วน และให้พยายามสื่อด้วยการทวนความ (paraphrase) หรือย่อความ (summarize) ด้วยวิธีการใช้ภาษาของผู้นิพนธ์เอง และพึงเลี่ยงการอ่านจากเอกสารอ้างอิงนั้นพร้อมกับเขียนไปด้วย ซึ่่งจะทำให้โอกาสการบังเอิญเขียนตรงกันเป็นไปได้ยาก
3. การอ้างอิง (citation) และเอกสารอ้างอิง (reference)ควรทำอย่างไร
     อ้างอิงตามแนวทางคู่มือมาตรฐานการเผยแพร่ผลงานวิจัยและผลงานทางวิชาการ โดยสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ หน้า 16 หัวข้อ 5.1-5.3 ไม่ควรนำบทคัดย่อมาเป็นการอ้างอิง ควรอ่านงานต้นฉบับนั้นก่อนทั้งเรื่องเสมอ สำหรับเอกสารที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ ควรได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรด้วย ควรหลีกเลี่ยงการอ้างอิงจากการพูดคุยส่วนตัว ยกเว้นไม่สามารถหาจากแหล่งข้อมูลอื่นได้และตรวจสอบความถูกต้องก่อนเสมอ
4. ค้าถามงานวิจัยที่เหมือนกัน เป็นการลอกเลียนโดยมิชอบ (Plagiarism) หรือไม่
     ไม่สามารถเข้าข่ายการลอกเลียนโดยมิชอบ (Plagiarism) หากยังไม่ได้รับการตรวจสอบอย่างละเอียดเพราะคำถามงานวิจัยเดียวกันหรือ วิธีด้าเนินการวิจัยที่คล้ายกัน สามารถเกิดขึ้นได้
5. ข้อความที่ผู้นิพนธ์อ้างอิงหรือก้าลังจะเขียนขึ้นนั้น ผู้นิพนธ์เองเคยได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่แล้ว ถือเป็น selfplagiarism หรือไม่
     อ้างอิงตามแนวทางคู่มือมาตรฐานการเผยแพร่ผลงานวิจัยและผลงานทางวิชาการ โดยสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ หน้า 14-15 หัวข้อ 4.3 ข้อ 6 กล่าวคือ ให้พยายามสื่อด้วยการทวนความ (paraphrase) ด้วยวิธีการใช้ภาษาของผู้นิพนธ์เองโดยการเขียนใหม่ (re-write)
6. การอ้างอิงโดยใช้ภาพในอินเตอร์เน็ทสามารถทำได้หรือไม่
     อ้างอิงตามแนวทางคู่มือมาตรฐานการเผยแพร่ผลงานวิจัยและผลงานทางวิชาการ โดยสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ หน้า 11-12 หัวข้อ 3.1-3.3 โดยที่ภาพทุกภาพในอินเทอร์เน็ตนั้นไม่ได้เป็นของสาธารณะ ทุกภาพมีเจ้าของ ดังนั้นการจะใช้เป็นข้อมูลอ้างอิง จะต้องใส่ข้อมูลเอกสารอ้างอิง (reference) ที่มากเพียงพอที่จะทำให้เจ้าของภาพ หรือผลงานนั้นได้รับการอ้างถึงได้อย่างชัดเจน
7. การใช้โปรแกรมตรวจสอบการลอกเลียนโดยมิชอบ (Plagiarism) ควรปฏิบัติอย่างไร
     อ้างอิงตามแนวทางคู่มือมาตรฐานการเผยแพร่ผลงานวิจัยและผลงานทางวิชาการ โดยสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ หน้า 14 หัวข้อ 4.3 ข้อ 5 โดยที่การใช้โปรแกรมตรวจสอบการลอกเลียนโดยมิชอบ (Plagiarism) นั้น ไม่สามารถตรวจสอบได้ทั้งหมด 100 % การตรวจสอบท้าได้เพียงในส่วนของค้า/อักษรที่เหมือนกันเท่านั น และการรายงานเป็นร้อยละของความเหมือนกัน ก็ยังขึ้นกับฐานข้อมูลที่โปรแกรมนั้นมีอยู่อีกด้วย จึงเป็นเพียงการตรวจสอบขั้นต้น โดยที่ยังต้องผ่านการตรวจสอบอย่างละเอียดต่อไป บางครั้งอาจไม่ได้
เป็นความเหมือนโดยมิชอบก็ได้ อาจเป็นความเหมือนโดยชอบก็ได้เช่นกัน
8. การที่ผู้วิจัยเผยแพร่งานวิจัยในงานประชุมวิชาการไปแล้ว ต่อมาผู้นั้นได้นำมาตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารอีกสามารถทำได้หรือไม่
     อ้างอิงตามแนวทางคู่มือมาตรฐานการเผยแพร่ผลงานวิจัยและผลงานทางวิชาการ โดยสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ หน้า 26-29 หัวข้อ 9.1-9.3 และหัวข้อ 10.1-10.3 โดยผู้นิพนธ์ต้องแจ้งเจ้าของทรัพยากรครั้งแรก (ผู้จัดการประชุม) และครั้งที่สอง (เจ้าของวารสาร) ทราบทั้งคู่ และต้องรอคำตอบจากผู้จัดการประชุมก่อน และในการนิพนธ์ให้พยายามสื่อด้วยการทวนความ (paraphrase) เท่าที่จะสามารถทำได้เช่นเดียวกัน