“ปฺญา นรานํ รตนํ ปัญญาเป็นรัตนะของนรชน”
ที่มาของการก่อตั้งคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม มหาวิทยาลัยสยามมีปรัชญาประจำมหาวิทยาลัยคือปัญญาเป็นรัตนะของนรชนอีกทั้งปรัชญาการให้บริการของมหาวิทยาลัยเอกชนนั้นถูกกำหนดไว้ว่าต้องเปิดหลักสูตรเฉพาะสาขาวิชาชีพที่ขาดแคลนจากปรัชญาดังกล่าว กอปรกับเพื่อเป็นการตอบสนองนโยบายของรัฐบาลในเรื่องการรับรองมาตรฐานโรงพยาบาล (Hospital Accreditation) และการรับรองมาตรฐานคุณภาพร้านยา (Community Pharmacy Accreditation) การผลิตเภสัชกรเพื่อให้ได้เภสัชกรที่มีคุณภาพเพื่อทำงานในโรงพยาบาลหรือร้านยาตามโครงการร้านยาคุณภาพของสภาเภสัชกรรมและสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข ทางมหาวิทยาลัยสยามจึงไ้ด้จัดตั้งคณะเภสัชศาสตร์โดยมุ่งเน้นการสร้างเภสัชกรที่มีทักษะการปฏิบัติงานด้านบริบาลทางเภสัชกรรม มีองค์ความรู้และทักษะในการสืบค้นปัญหาการใช้ยา การป้องกันการแก้ปัญหาที่เกิด หรืออาจเกิดจากการใช้ยาเพื่อให้ประชาชนมีการใช้ยาที่ถูกต้อง เหมาะสม มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย และมีคุณภาพชีวิตที่ดี
ปรัชญา
ปฏิบัติจริง อิงความรู้ คู่จรรยาบรรณวิชาชีพเภสัชกรรม
ปณิธาน
มุ่งสร้างเภสัชกรที่มีความรู้ความสามารถในการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม เน้นทักษะการปฏิบัติการบริบาลทางเภสัชกรรม เพื่อให้ประชาชนมีการใช้ยาอย่างถูกต้องเหมาะสม มีประสิทธิภาพ ปลอดภัยและมีคุณภาพชีวิตที่ดี
วิสัยทัศน์
เป็นคณะเภสัชศาสตร์ที่มีมาตรฐานระดับสากลมีความเป็นเลิศด้านวิชาการเพื่อพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน
พันธกิจ
1.มุ่งเน้นการผลิตเภสัชกรด้านการบริบาลทางเภสัชกรรมและเภสัชกรประจําบ้านที่มีคุณภาพและมีความเป็นสากล กอปรด้วยคุณธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพ
2.สร้างงานวิจัยและนวัตกรรมที่มีคุณภาพระดับชาติและนานาชาติ
3.ให้การบริการวิชาการที่เหมาะสมก่อให้เกิดประโยชน์และพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน
4.สืบสานและทํานุบํารุงศิลปวัฒนธรรมไทย
ค่านิยม
มีวินัย ใส่ใจพัฒนา มุ่งหน้ารับผิดชอบต่อสังคม
อัตลักษณ์
Self-discipline (วินัย)
Intelligence (ทักษะและความรู้)
Adaptation (การปรับตัว)
Morality (คุณธรรมจริยธรรม)
เป้าหมาย
มุ่งสร้างเภสัชศาสตรบัณฑิต ที่มีความรู้ความสามารถในการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม เน้นทักษะการปฏิบัติการบริบาลทางเภสัชกรรมเพื่อให้ประชาชนมีการใช้ยาอย่างถูกต้อง เหมาะสม มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย และมีคุณภาพชีวิตที่ดี
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
เพื่อให้เภสัชศาสตรบัณฑิต มีความรู้ ความสามารถ ความชำนาญ และทักษะ ดังนี้
- มีเจตคติที่ดีต่อวิชาชีพ มีคุณธรรม จริยธรรม ปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพ และทำนุบำรุงวัฒนธรรมไทย
- สามารถนำความรู้ทางเภสัชศาสตร์ หลักการและแนวคิดการบริบาลทางเภสัชกรรม มาใช้ในการดูแลผู้ใช้ยาอย่างเหมาะสม บนพื้นฐานทางวิชาการที่ทันสมัย
- มีทักษะการคิดที่สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างเหมาะสม มีเหตุผล เป็นระบบ และวางแผนป้องกันปัญหาได้
- มีทักษะการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ และสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ป่วย ผู้บริโภคและบุคลากรทางการแพทย์
- มีความสามารถในการปฏิบัติงานร่วมกับบุคลากรทางสาขาอื่นๆ อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ
- มีความใฝ่รู้ ความสามารถในการเรียนรู้ตลอดชีวิต และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสมและเป็นสากล
- มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ สามารถพัฒนาองค์ความรู้ของตนเองได้อย่างเป็นระบบ