“ปฺญา นรานํ รตนํ  ปัญญาเป็นรัตนะของนรชน”

ที่มาของการก่อตั้งคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม 
        มหาวิทยาลัยสยามมีปรัชญาประจำมหาวิทยาลัยคือปัญญาเป็นรัตนะของนรชน อีกทั้งปรัชญาการให้บริการของมหาวิทยาลัยเอกชนนั้นถูกกำหนดไว้ว่าต้องเปิดหลักสูตรเฉพาะสาขาวิชาชีพที่ขาดแคลน
        จากปรัชญาดังกล่าว กอปรกับเพื่อเป็นการตอบสนองนโยบายของรัฐบาลในเรื่องการรับรองมาตรฐานโรงพยาบาล (Hospital Accreditation) และการรับรองมาตรฐานคุณภาพร้านยา (Community Pharmacy Accreditation) การผลิตเภสัชกรเพื่อให้ได้เภสัชกรที่มีคุณภาพเพื่อทำงานในโรงพยาบาลหรือร้านยาตามโครงการร้านยาคุณภาพของสภาเภสัชกรรมและสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข  ทางมหาวิทยาลัยสยามจึงไ้ด้จัดตั้งคณะเภสัชศาสตร์โดยมุ่งเน้นการสร้างเภสัชกรที่มีทักษะการปฏิบัติงานด้านบริบาลทางเภสัชกรรม มีองค์ความรู้และทักษะในการสืบค้นปัญหาการใช้ยา การป้องกันการแก้ปัญหาที่เกิด หรืออาจเกิดจากการใช้ยาเพื่อให้ประชาชนมีการใช้ยาที่ถูกต้อง เหมาะสม มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย  และมีคุณภาพชีวิตที่ดี

ปรัชญามหาวิทยาลัยสยาม

มหาวิทยาลัยสยามสถาปนาขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนองความต้องการของชาติในการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาเพื่อผลิตบุคลากรที่เพียบพร้อมด้วยความเป็นเลิศทางวิชาการและมีทักษะขั้นสูงในการประกอบอาชีพและกอปรด้วยจริยธรรม โดยมีปรัชญาของมหาวิทยาลัย  คือ 

ปญฺญา นรานํ รตฺนํ ซึ่งมีความหมายว่า “ปัญญาเป็นรัตนะของนรชน”

” Wisdom is an invaluable asset of Humankind “

ปรัชญาการศึกษา

“การจัดการศึกษาเพื่อให้เกิดปัญญา”

ปรัชญาคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

ปฏิบัติจริง อิงความรู้ คู่จรรยาบรรณวิชาชีพเภสัชกรรม

ปณิธาน

มุ่งสร้างเภสัชกรที่มีความรู้ความสามารถในการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม  เน้นทักษะการปฏิบัติการบริบาลทางเภสัชกรรม เพื่อให้ประชาชนมีการใช้ยาอย่างถูกต้องเหมาะสม มีประสิทธิภาพ ปลอดภัยและมีคุณภาพชีวิตที่ดี

วิสัยทัศน์

เป็นคณะเภสัชศาสตร์ที่มีมาตรฐานวิชาชีพ มีความเป็นเลิศด้านวิชาการ เพื่อพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน

ค่านิยม

มีวินัย ใส่ใจพัฒนา มุ่งหน้ารับผิดชอบต่อสังคม

อัตลักษณ์

Self-discipline (วินัย)

Intelligence (ทักษะและความรู้)

Adaptation (การปรับตัว)

Morality (คุณธรรมจริยธรรม)

พันธกิจ

  1. มุ่งเน้นการผลิตเภสัชกรด้านการบริบาลทางเภสัชกรรม และเภสัชกรประจำบ้านที่มีคุณภาพและมีความเป็นสากล กอปรด้วยคุณธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพ
  2. สร้างงานวิจัยและนวัตกรรมที่มีคุณภาพระดับชาติและนานาชาติ
  3. ให้การบริการวิชาการที่เหมาะสมก่อให้เกิดประโยชน์และพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน
  4. สืบสานและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมไทย

เป้าหมาย

มุ่งสร้างเภสัชศาสตรบัณฑิต ที่มีความรู้ความสามารถในการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม 
เน้นทักษะการปฏิบัติการบริบาลทางเภสัชกรรมเพื่อให้ประชาชนมีการใช้ยาอย่างถูกต้อง เหมาะสม
มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย และมีคุณภาพชีวิตที่ดี

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

เพื่อให้เภสัชศาสตรบัณฑิต มีความรู้ ความสามารถ ความชำนาญ และทักษะ ดังนี้

  1. มีเจตคติที่ดีต่อวิชาชีพ มีคุณธรรม จริยธรรม ปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพ และทำนุบำรุงวัฒนธรรมไทย
  2. สามารถนำความรู้ทางเภสัชศาสตร์ หลักการและแนวคิดการบริบาลทางเภสัชกรรม มาใช้ในการดูแลผู้ใช้ยาอย่างเหมาะสม บนพื้นฐานทางวิชาการที่ทันสมัย
  3. มีทักษะการคิดที่สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างเหมาะสม มีเหตุผล เป็นระบบ และวางแผนป้องกันปัญหาได้
  4. มีทักษะการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ และสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ป่วย ผู้บริโภคและบุคลากรทางการแพทย์
  5. มีความสามารถในการปฏิบัติงานร่วมกับบุคลากรทางสาขาอื่นๆ อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ
  6. มีความใฝ่รู้ ความสามารถในการเรียนรู้ตลอดชีวิต และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสมและเป็นสากล
  7. มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ สามารถพัฒนาองค์ความรู้ของตนเองได้อย่างเป็นระบบ